เมนู

ในทุติยบท พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะแสดงการประหาณ
โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ จึงตรัสคำว่า อิเม ธมฺมา ภาวนาย ปหาตพฺพ-
เหตุ
(สภาวธรรมเหล่านั้นมีเหตุพึงประหาณด้วยภาวนาคือมรรคเบื้องบน 3 มีอยู่)
ดังนี้. ด้วยว่า โมหะอันสหรคตด้วยอุทธัจจะนั้น กระทำสัมปยุตตธรรมกับตน
ให้เป็นสเหตุกะและหมุนไปข้างหลัง จะจัดเป็นมหาตัพพเหตุบทก็ไม่ได้ เพราะ
ไม่มีสัมปยุตตเหตุแห่งกันและกัน เหมือนโมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ฉะนั้น.
ในตติยบท บทว่า อวเสสา กุสลากุสลา (กุศลและอกุศล
ที่เหลือ) ความว่า การถืออกุศลอีกทรงกระทำไว้เพื่ออันรวมโมหะทั้งหลายอัน
สหรคตด้วยวิจิกิจฉา และอุทธัจจะ เพราะโมหะเหล่านั้นไม่ชื่อว่า มีเหตุที่
จะพึงละ เพราะไม่มีสัมปยุตตเหตุ.

ว่าด้วยนิทเทสปริตตารัมมณติกะที่ 13


พึงทราบวินิจฉัยใน ปริตตารัมมณติกะ ต่อไป
บทว่า อารพฺภ (ปรารภ) ได้แก่ กระทำให้เป็นอารมณ์ จริงอยู่
ตัวเองจะเป็นปริตตธรรม หรือเป็นมหัคคตธรรมก็ตาม ธรรมใดทำปริตตธรรม
ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า ปริตตารมณ์ (มีอารมณ์เป็นปริตตะ)
ธรรมใดทำมหัคคตะทั้งหลายให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า มหัคคตา-
รมณ์
(มีอารมณ์เป็นมหัคคตะ) ธรรมเหล่าใดทำอัปปมาณธรรมทั้งหลายให้เป็น
อารมณ์เกิดขึ้น ธรรมนั้นชื่อว่า อัปปมาณารมณ์ (มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ)
อธิบายว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นปริตตะบ้าง เป็นมหัคคตะบ้าง เป็นอัปปมาณะ
บ้าง.

ว่าด้วยนิทเทสมิจฉัตตติกะที่ 15


พึงทราบวินิจฉัยในมิจฉัตตติกะ ต่อไป

บทว่า อานนฺตริกานิ (อนันตริยกรรม) นี้ เป็นชื่อของการทำ
มาตุฆาตเป็นต้นเป็นธรรมให้ผลโดยไม่มีอะไรขัดขวางทีเดียว ด้วยว่าในบรรดา
อนันตริยกรรมเหล่านั้น เมื่อบุคคลทำกรรมแม้อย่างหนึ่ง กรรมอื่นจะห้าม
อนันตริยกรรมนั้นแล้วก็ไม่สามารถเพื่อทำโอกาสให้วิบากของตน. เพราะว่าเมื่อ
สร้างพระสถูปทองแม้เท่าเขาสิเนรุ หรือสร้างวิหารมีปราการสำเร็จด้วยแก้ว เท่า
เขาจักรวาล แล้วถวายปัจจัย 4 แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผู้นั่ง
เต็มวิหารนั้นตลอดชีวิตก็ดี กุศลกรรมนั้นก็ไม่อาจเพื่อจะห้ามวิบากของอนัน-
ตริยกรรมเหล่านั้นได้.
บทว่า ยา จ มิจฺฉาทิฏฺฐิ นิยตา (และนิยตมิจฉาทิฏฐิ) ได้แก่
บรรดาอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิอย่างใด
อย่างหนึ่ง ด้วยว่าพระพุทธเจ้าร้อยองค์ก็ดี พันองค์ก็ดี ก็ไม่สามารถเพื่อยัง
บุคคลผู้ถือมิจฉาทิฏฐิดำรงอยู่นั้นให้ตรัสรู้ได้.

ว่าด้วยนิทเทสมัคคารัมมณติกะที่ 16


พึงทราบวินิจฉัยในมัคคารัมมณติกะ ต่อไป
บทว่า อริยมคฺคํ อารพฺภ (ปรารภอริยมรรค) ได้แก่ กระทำ
โลกุตรมรรคให้เป็นอารมณ์ ก็ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์เหล่านั้น เป็นปริตตะ
บ้าง เป็นมหัคคตะบ้าง.
ในนิทเทสมัคคเหตุกธรรม (ทุติยบท) พึงทราบว่า ความที่ขันธ์
ทั้งหลายสัมปยุตด้วยมรรคเป็นสเหตุกะทรงแสดงไว้ด้วยเหตุ มีปัจจัยเป็นอรรถ
โดยนัยแรก พึงทราบความที่มัคคังคะที่เหลือเป็นสเหตุกะ ทรงแสดงด้วยเหตุ
กล่าวคือสัมมาทิฏฐิเป็นมรรคโดยนัยที่ 2. โดยนัยแห่งตติยบท ทรงแสดง